รีวิว Play Station 4 Pro แบบ บ้านๆ | Kaosuaylunla Diary

รีวิว Play Station 4 Pro แบบ บ้านๆ

ข่าว PS4 Pro วางขายมาตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหา-กันยา ปี 2016 แต่กว่าเครื่อง Play Station 4 Pro ลอทแรกจะเดินทางมาถึงตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการก็ปาเข้าไปเดือน พฤศจิกายนเข้าแล้ว ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่เกมไฟนอล แฟนตาซี ภาค 15 วางขาย อุตสาหกรรมเกมบ้านเราเลยกลับมาคึกคักกันอีกครั้ง เราเองก็เป็น 1 ในคนที่จองเครื่องเอาไว้ แต่กว่าจะได้สัมผัสจริงๆก็ปาเข้าไปเกือบสิ้นปี
และได้ข่าวว่าการ Walk-in เข้าไปซื้อเครื่องเพลย์สเตชั่น 4 รุ่น Pro ไม่สามารถทำได้ง่ายนะคะ บางร้านต้องรอช่วง มีนา-เมษา 2017 กันเลยทีเดียวถึงจะมีเครื่องมากพอจำหน่ายให้กับทุกคนได้ (ไม่นับจำนวนคนที่มาจ่ายตังจองคิวเอาไว้) ไหนๆ อิชั้นก็ได้ Hands On สิ่งนี้ เลยอยากจะมาทำรีวิวบ้านๆเล่าสู่กันฟังว่าเจ้าเครื่อง Play Station 4 Pro มันเป็นยังไงกันแน่ อันนี้จากมุมมองแม่บ้านที่เคยเป็นเด็กติดเกมนะก๊ะ เพราะชีวิตจริงนอกจากเกมมือถือ และเดอะซิมส์ใน PC พี่นี้ห่างวงการเกมคอนโซลไปนานตั้งแต่ Play Station 2 เลยแหละ...

เทียบ Spec เครื่อง PS4 Pro และ PS4 รุ่นอื่นๆ:

ข้อมูลจาก trustedreviews.com แปลไทยบ้านๆประมาณว่า เครื่อง PS4 Pro แรงกว่า PS4 รุ่นอื่นๆ (PS4 ปกติ และ PS4 Slim ที่เป็นรุ่นบาง) หลักๆที่เห็นได้ชัดคือเรื่องของฮาร์ดแวร์ที่ใช้แสดงผลกราฟิก เป็นรุ่นล่าสุดที่มีประสิทธิภาพมากกว่ารุ่นเก่าสองเท่าตัว ซัพพอร์ตการแสดงผลบนทีวี 4K แต่เหมือนจะลืมฟังชั่นซัพพอร์ตแผ่น Ultra HD Blu-ray ดูได้แต่บลูเรย์ธรรมดา อืม งงในงงไปอีก... แล้วก็มีโปรเซสเซอร์ที่ใช้ประมวลผลเร็วกว่า ตัวเชื่อมต่ออินเตอร์เนทไร้สายผ่านระบบ Wi-Fi อัพเดทให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ซัพพอร์ทแว่นเล่นเกม Play Station VR ได้ และมาพร้อมการอัพเกรดใหม่ให้สามารถโอนถ่ายไฟล์ Screen Capture/Game Play Recording ลงในฮาร์ดดิกส์ได้ง่ายขึ้นแค่เสียบแล้วคลิก!

PS4 Pro specs 

  • Main processor: Custom-chip single Processor 
  • CPU: x86-64 AMD "Jaguar," 8 cores 
  • GPU: 4.20 TFLOPS, AMD Radeon™ based graphics engine 
  • Memory: GDDR5 8GB 1GB of VRAM 
  • Storage size: 1TB 
  • External dimensions: Approx. 295×55×327 mm (width × height × length) (excludes largest projection) 
  • Mass: Approx. 3.3 kg BD/DVD 
  • Drive: BD × 6 CAV, DVD × 8 CAV 
  • Input/Output: Super-Speed USB (USB 3.1 Gen.1) port × 3, AUX port × 1 
  • Networking: Ethernet (10BASE-T, 100BASE-TX, 1000BASE-T)×1, IEEE 802.11 a/b/g/n/ac, Bluetooth® 4.0 (LE) Power: AC 100V, 50/60Hz 
  • Power consumption: Max. 310W 
  • Operating temp: 5ºC – 35ºC 
  • AV Output: HDMI out port (supports 4K/HDR) DIGITAL OUT (OPTICAL) port 


ราคา PS4 Pro ที่เราซื้อมาคือ 16,990 บาท ขนาดความจุฮาร์ดดิสก์ 1TB ในกล่องมีอุปกรณ์ตามภาพ:
  • เครื่อง PS4 Pro 1 เครือง
  • หูฟังข้างเดียวพร้อมไมค์สมอล์ทอล์ค 1 เส้น
  • จอย Dual Shock 1 อัน
  • สาย Power ต่อกับปลั๊ก 1 เส้น
  • สาย HDMI ต่อกับจอ 1 เส้น
  • สาย USB Lighting ไว้เชื่อมต่อ/ชาร์จจอย 1 อัน
  • คู่มือการใช้งาน/รายละเอียด รวม 3 เล่ม (ไทย/อังกฤษ)
note: เวลาซื้อเครื่องสมัยนี้เค้าแถมจอยมาให้ในกล่องนะคะหนูๆ ไม่ต้องไปซื้อจอยเพิ่ม
เราซื้อมาจากร้าน Gameshop Concept Store ที่เป็นดีลเลอร์ที่ได้การรับรองจาก Sony Play Station คือของราคาไม่แพง แล้วก็มีให้เลือกค่อนข้างหลากหลาย ได้ไวถ้าจองแรกๆอะนะ ใครสนใจก็ลองอินบ็อกไปสอบถามดูค่ะ หน้าร้านอยู่แถวๆเซ็นทรัลลาดพร้าว หรือถ้าจะสั่งออนไลน์ มีบริการส่งของผ่าน Kerry ด้วย


ความรู้สึกส่วนตัวจากการได้แตะเครื่อง PS4 Pro ครั้งแรกหลังร้างวงการคอนโซลไปนานคือ... ตื่นเต้นนนน ชั้นกรี๊ดมากเลยกับการได้จับเครื่องคอนโซลเกมอีกครั้ง ที่ตลกคือไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้จอยมันไร้สายหมดแล้ว(ฮา) ก็ว่าทำไมเด็กที่ร้านเค้ายิ้มแปลกๆตอนเราถามว่าจอยมันไร้สายมั๊ย... เด๋อจริงอิแม่ 5555 
พอได้มาก็มีความตื่นเต้นกับสาย... ที่น้อยมาก..!! ยังคงมีภาพจำกับเกม Play Station 1 ที่สายระโยงระยางทั้งหลังเครื่องหน้าเครื่อง อันนี้คือแค่สายพาวเวอร์กับ HDMI เข้าจอ จบเลย เฮ้ยโซคูลลล!!

ช่องใส่ดีวีดี/ซีดี ก็ยังทำให้เรารู้สึกว่ามันเจ๋งอะ ตรงที่... ไม่มีถาด!! คือแค่เอาแผ่นจิ้มลงไปในช่องมันจะดูดแผ่นเข้าไปทันที คือตื่นเต้น มีความไฮเทค ง่อววว (ตื่นเต้นกับทุกอย่างอิบ้า 555)

จอยเกมมีหลายปุ่มมาก เด๋อตรงหาปุ่ม L3/R3 ไม่เจอ... สรุปคือให้กดจอยอนาล็อกลงไป ฝั่งขวาก็คือ R3 ฝั่งซ้ายคือ L3 ครั้งแรกที่ใช้ต้องเชื่อมสายก่อนแล้วกดปุ่มเครื่องหมาย Play Station เพื่อให้เครื่องจดทะเบียนจอยอันนี้ในระบบ หลังจากนั้นไม่จำเป็นต้องมีสาย แค่กดปุ่มก็สามารถใช้ได้เลย และแค่กดปุ่มก็จะสั่งเปิดเครื่องโดยอัตโนมัติด้วย ง้อว เจ๋งมากกก และปุ่ม Power จะไม่จำเป็นอีกต่อไป เราสามารถสั่งจากเมนูของ Play Station ได้เลย
เวลาจะ Shut Down  การกดปุ่ม Power หนึ่งทีมันแค่เข้าโหมด Standby คือถ้าไฟยังไม่ดับ แปลว่าเครื่องมันยังแดกไฟบ้านคุณอยู่นะคะ ข้อดีคือถ้าเสียบสาย USB Lighting เข้ากับจอยมันจะช่วยชาร์จไฟให้จอยได้ด้วยในโหมด Standby ข้อเสียคือถ้าไม่ได้เสียบอะไร ก็จะกินไฟเราไปเรื่อยๆนั่นเอง...
จอยไม่ใช่แค่จอยอีกต่อไป เมื่อนางมี Tacking Pad แบบโน้ตบุคที่เอานิ้วแต่ๆแล้วไถๆ กดเพื่อเลือกได้ มีลำโพงกับไมค์ในตัว สั่นแบบระบบหนัง 4D Max (บางเกม) และเวลาต่อหูฟังเราไม่ต้องไปจิ้มที่เครื่อง เราจิ้มที่จอยเว้ยยย พีคค! หรือจะใช้หูฟังบลูธูทก็ได้ไง คือมันเริ่ดมากอะพี่น้องง

ความไหลลื่นของ Interface เราถือว่ามันทำมาโอเคเลย สวยงาม ใช้งานง่าย สร้างโฟลเดอร์ได้ด้วย ไว้ทยอยๆศึกษาแล้วจะมาเล่าสู่กันฟังนะ ตอนนี้ข้อเสียที่นึกออกคือระบบเสิชเกมใน Play Station Store ค่อนข้างใช้งานยาก นี่เสิชอะไรก็ไม่ค่อยจะเจอ ไม่แน่ใจว่าพิมชื่อผิดหรือมันไม่มีให้โหลดในไทยก็ไม่รุ้ 

การอัดเกมเพื่อเอามาทำรีวิว Walk-through ใช้งานค่อนข้างง่าย แต่ยังไม่ค่อยไวเท่าไหร่ บางทีก็ดีเลย์ อัดไม่โดนฉากที่ต้องการ ไม่แน่ใจว่าเป็นที่ระบบประมวลผลหรือเป็นที่ความไวของจอยเกม ถ้ามีโอกาสจะมารีวิวส่วนอื่นๆให้อ่านกันค่ะ

จริงๆมีอัดคลิปแกะกล่องไว้ด้วย แน่นอนว่าเกมแรกที่เราเล่นคือ FFXV: Final Fantasy XV ฝากไปติดตามกด Subscribe ช่องเอาไว้ด้วยน้า เดี๋ยวจะทยอยๆลงคอนเท้นเกี่ยวกับเกมให้ชมกัน วันนี้ลาไปก่อน หวังว่าบทความนี้จะพอมีประโยชน์กัยทุกคนบ้างไม่มากก็น้อยนะคะ ^^

Disclaimer: This is 100% Consumer Review.

0 comments:

แสดงความคิดเห็น

อ่านจบแล้วอยากฝากคอมเม้นอะไรบ้าง?